วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำตกพลิ้ว


น้ำตกพลิ้ว, จันทบุรี
ประวัติ: อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติ เขาสระบาป ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2518 และเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2525 พื้นที่อยู่ในบริเวณเทือกเขาสระบาป ซึ่งมียอดสูงสุดคือยอดเขามาบหว้ากรอก สูง 924 ม. จากระดับน้ำทะเล ภายในอุทยานฯ พบร่องรอยของสัตว์ป่าสำคัญหลายชนิด เช่น เสือ หมี เลียงผา เก้ง นกนานาชนิด พื้นที่จะค่อย ๆ ลาดลงทางทิศใต้ที่เป็นเขตชุมชน และเนื่องจากมีฝนตกชุกตลอดปี บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งต้นน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาให้แก่เขต อ.เมือง อ.แหลมสิงห์ และอ. ขลุง
น้ำตกพลิ้ว ชื่อ "พลิ้ว" บางคนก็ว่ามากจากคำว่าพลิ้วหมายถึงสายน้ำตกที่พลิ้วสวยงาม บ้างก็ว่ามาจากชื่อของต้นพลิ้วที่ชอบขึ้นริมน้ำตก เป็นไม้เถาออกดอกเป็นช่อ ซึ่งทางอุทยานฯ นำมาปลูกไว้ในบริเวณใกล้กับที่ทำการ
น้ำตกพลิ้วเกิดจากธารน้ำ 2 สาย สายหนึ่งต้นน้ำไหลลดหลั่นผ่านซอกหินลงมาเป็นทอด ๆ อีกสายหนึ่งเป็นธารน้ำขนาดเล็กกว่าสายแรก ทั้งสองสายทิ้งตัวมาบรรจบกันก่อนทิ้งตัวจากผาสูง 20 ม. ลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ ก่อนถึงตกน้ำตกเป็นวังน้ำนิ่งที่ใสสะอาด มีฝูงปลาพลวงนับร้อยตัว นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารปลา ซึ่งทางอุทยานฯ อนุญาตเฉพาะอาหารที่เป็นพืชผักเท่านั้น

มหาเจดีย์ชัยมงคล


                                                              พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ80 ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระมหาเจดีย์ชัยมงคลนี้ออกแบบ โดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลาย ตระการตาด้วย สีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปัน โน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรีเคยบำเพ็ญธรรม
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

เชียงคาน

"เชียงคาน เมืองโบราณ ที่ไม่ล้าสมัย"
  เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100ปีซึ่งเพิ่งจะมีการจัดงานฉลอง"100ปี เชียงคาน เมืองโบราณ ริมฝั่งโขง"ไปเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป
   เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ.. บ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยวกันให้เต็มไปหมด อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป..